วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บทที่ 4 การประยุกต์ใช้สื่อไอซีทีเพื่อการศึกษา ICT






การประยุกต์ใช้สื่อไอซีทีเพื่อการศึกษา ICT
      การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา บิลล์ เกตส์ (Bill Gates) เป็นเจ้าของบริษัทไมโครซอฟต์ซึ่งผลิตซอฟต์แวร์สำหรับระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยให้ความสำคัญกับการศึกษาเกี่ยวกับการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้กับการศึกษาดังนี้ (รุ่ง แก้วแดง. 2543) 

1) การเรียนมิได้มีเฉพาะในห้องเรียน การเรียนไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะในห้องเรียนและอยู่ภายใต้การควบคุมกำกับของครูเท่านั้น
 2) ผู้เรียนมีความแตกต่างระหว่างบุคคล เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน จึงจำเป็นจะต้องจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล เพราะเด็กแต่ละคนมีความรู้ ความเข้าใจ ประสบการณ์ และการมองโลกแตกต่างกันออกไป 
3) การเรียนที่ตอบสนองความต้องการรายคน การจัดการศึกษาที่สอนเด็กจำนวนมาก (Mass Production Education) โดยรูปแบบที่จัดเป็นรายชั้นเรียนในปัจจุบัน ไม่สามารถที่จะตอบสนองความต้องการของเด็กเป็นรายคนได้ แต่ด้วยพลังอำนาจและประสิทธิภาพของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ การเรียนตามความต้องการของแต่ละคน (Tailor-made Education) สามารถจะเป็นจริงได้ โดยมีครูคอยให้การดูแลช่วยเหลือและแนะนำ 
4) การเรียนโดยใช้สื่อประสม ในอนาคตห้องเรียนทุกห้องจะมีสื่อประสม (Multimedia) จากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เด็กสามารถเลือกเรียนเรื่องต่าง ๆ ได้ตามความต้องการ
5) บทบาทของทางด่วนข้อมูลกับการสอนของครู ปัจจุบันครูต้องทำงานหนักเพื่อเตรียมการสอนตลอดเวลา แต่ด้วยระบบเครือข่ายทางด่วนข้อมูลจะทำให้ได้ครูที่สอนเก่งจากที่ ต่างๆ มากมายมาเป็นต้นแบบ
6) บทบาทของครูที่เปลี่ยนไป ครูจะมีหลายบทบาทหน้าที่คือ บทบาทที่ 1 ทำหน้าที่เหมือนกับผู้ฝึก (Coach) ของนักศึกษา คอยช่วยเหลือให้คำแนะนำ บทบาทที่ 2 เป็นเพื่อน (Partner) ของผู้เรียน บทบาทที่ 3 เป็นทางออกที่สร้างสรรค์ (Creative Outlet) ให้กับเด็ก และบทบาทที่ 4 เป็นสะพานการสื่อสารที่เชื่อมโยงระหว่างเด็กกับโลก ซึ่งอันนี้ก็คือบทบาทที่ยิ่งใหญ่ ของครู ถ้าครูทำบทบาทอย่างนี้ได้ การเรียนการสอนจะมีความสนุกสนานขึ้นอย่างมาก 
7) คอมพิวเตอร์กับความเป็นมนุษย์ ในการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้นั้น ครูและนักเรียนสามารถอยู่กับคอมพิวเตอร์ได้โดยไม่ทำลายศักดิ์ศรีหรือความเป็นมนุษย์ เพราะบทบาท ของครูก็ยังคงอยู่ และจะมีความสำคัญยิ่งขึ้นถ้าเราสามารถปรับบทบาทของครูให้เข้าใจในเรื่องนี้ได้ 
8) ความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียน ครู และผู้ปกครอง ระบบทางด่วน ข้อมูลคอมพิวเตอร์จะช่วยเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียน ครู และผู้ปกครอง
      ดังนั้นจะเห็นว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นปัจจัยของการเปลี่ยนแปลงบทบาทนักเทคโนโลยี การศึกษาในฐานะของผู้ใช้เทคโนโลยีในการบูรณาการกับกระบวนการเรียนการสอน ซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศได้เปลี่ยนแปลงกระบวนการเรียนรู้ใหม่ สื่อ เครื่องมือและอุปกรณ์แบบใหม่เข้ามาแทนที่แบบเก่า เกิดแหล่งการเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างมากมาย นักเทคโนโลยีการศึกษาจึงต้องศึกษาและปรับบทบาทเพื่อให้สอดรับกับกระแสของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่หลีกเลี่ยงได้อยากยิ่ง

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในด้านการศึกษา ประยุกต์ใช้ในงานด้านการศึกษา 
      เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้สำหรับการเรียนการสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลายอย่าง สอนด้วยสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัย ห้องเรียนสมัยใหม่ มีอุปกรณ์วิดีโอโปรเจคเตอร์ (Video Projector)มีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีระบบการอ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบต่าง ๆ รูปแบบของสื่อที่นำมาใช้ในด้านการเรียนการสอน ก็มีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำมาใช้ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน อิเล็กทรอนิกส์บุค วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ระบบวิดีโอออนดีมานด์ การสืบค้นข้อมูลในคอมพิวเตอร์ และระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
 - คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการนำเอาเทคโนโลยี รวมกับการออกแบบโปรแกรมการสอน มาใช้ช่วยสอน ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่าบทเรียน CAI ( Computer - Assisted Instruction )
 - การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก เป็นการจัดการเรียน ที่มีสภาพการเรียนต่างไปจากรูปแบบเดิม การเรียนการสอนแบบนี้ อาศัยศักยภาพและความสามารถของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
 - อิเล็กทรอนิกส์บุค คือการเก็บข้อมูลจำนวนมากด้วยซีดีรอม หนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลตัวอักษรได้มากถึง 600 ล้านตัวอักษร
 - วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ หมายถึงการประชุมทางจอภาพ โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย เป็นการประชุมร่วมกันระหว่างบุคคล หรือคณะบุคคลที่อยู่ต่างสถานที่ และห่างไกลกันโดยใช้สื่อทางด้านมัลติมีเดีย ที่ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง เสียง และข้อมูลตัวอักษร
 - ระบบวิดีโอออนดีมานด์ (Video on Demand) เป็นระบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมนำมาใช้ ในหลายประเทศ
 - การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) ปัจจุบันได้มีการกล่าวถึงระบบการสืบค้นข้อมูลกันมาก แม้แต่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ก็มีการประยุกต์ใช้ไฮเปอร์เท็กซ์ในการสืบค้นข้อมูล จนมีโปรโตคอลชนิดพิเศษที่ใช้กัน คือ World Wide Web หรือเรียกว่า www.
 - อินเทอร์เน็ต คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายย่อย และเครือข่ายใหญ่สลับซับซ้อนมากมาย เชื่อมต่อกันมากกว่า 300 ล้านเครื่องในปัจจุบัน โดยใช้ในการติดต่อสื่อสาร ข้อความรูปภาพ เสียงและอื่น ๆ โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานกระจายกันอยู่ทั่วโลก

อ้างอิง
ที่มาของรูปภาพ : http://www.google.co.th/imgres?hl=th&sa=X&biw=1366&bih=624&tbm=isch&prmd=imvns&tbnid=d-NmDBlF-Uzw5M:&imgrefurl=http://pisutta.ning.com/xn/detail/5170531:Topic:194207%3Fxg_source%3Dactivity&docid=VZ5VXDFhfZ1NPM&imgurl=http://api.ning.com/files/R2K4gXWu4Rc4EG44E8lYnrC0aCeMa49zPrLxxg5zGQ1o3YwCjoEdEdI7YhPg15AfKg5V7*actR9eI6GjCy0n5zkBVw5-sA-4/ICT.gif&w=800&h=563&ei=QEkaUKyDHOGPiAe6joDQDA&zoom=1
บทที่ 3 การประยุกต์ใช้สื่อโสตทัศน์เพื่อการศึกษาและการออกอากาศ TV

ความหมายวิทยุโทรทัศน์ ( TELEVISION )
      คำว่าโทรทัศน์ในภาษาอังกฤษ คือ television เป็นคำผสมจากภาษากรีก "Tele-" แปลว่า"ระยะไกล "-vision" มาจากภาษาละติน "visio" แปลว่า"การมองเห็น",มักเรียกย่อเป็น TV (ทีวี) หมายถึง การส่งและรับภาพและเสียงโดยเครื่องส่งและเครื่องรับอิเล็กทรอนิกส์ ออกอากาศด้วยกระแสคลื่นวิทยุที่ใช้พลังไฟฟ้าเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเครื่องส่งไปยังเครื่องรับที่อยู่ห่างไกล

ประเภทของวิทยุโทรทัศน์
1.วิทยุโทรทัศน์ประเภทสาธารณะรับได้โดยตรง(Free TV) แบ่งเป็น 2 ระบบคือ -
สถานีโทรทัศน์ย่านความถี่สูงมาก(VHF)
- ช่อง 3 อสมท.
 - ช่อง 5 กองทัพบก
 - ช่อง 7 กองทัพบก
 - ช่อง 9 อสมท.
- ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ - สถานีโทรทัศน์ย่านความถี่สูง สูงมาก(UHF)
- ITV Independent Television
  2.วิทยุโทรทัศน์ประเภทบอกรับเป็นสมาชิก (Pay TV) แบ่งเป็น 3 ระบบคือ
 - DTH (Direct to Home )
- UBC -สถานีวิทยุโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียม(ไกลกังวล)
- สถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ (ECT)
- ใช้สายนำสัญญาณ Cable TV UBC,Other -
การให้บริการโดยใช้คลื่นวิทยุ หรือคลื่นระบบ MMDS ได้แก่สถานีโทรทัศน์ ไทยโทรทัศน์ TTV ระบบ


บทบาทของวิทยุโทรทัศน์ทางการศึกษา
  1 การใช้วิทยุโทรทัศน์เพื่อการเรียนการสอนในระบบโรงเรียน
- ใช้วิทยุโทรทัศน์เป็นเครื่องมือทางการสอน โดยกำหนดแผนการสอนให้มีวิทยุโทรทัศน์เข้ามาเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน เช่น การบันทึกภาพเพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหาและกำหนดวิธีแก้ไข - ใช้เป็นอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ เช่น ใช้กล้องโทรทัศน์ถ่ายภาพจากกล้องจุลทรรศน์ เพื่อประกอบการอธิบาย ซักถาม - ใช้เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดสื่ออื่น เช่น บันทึกวีดิทัศน์จากภาพยนตร์ สไลด์ รูปภาพ หรือสื่อเสียงอื่นๆ เข้าด้วยกัน ทำให้สะดวกต่อการใช้งาน - รวบรวมเป็นสื่อไว้ในแหล่งความรู้ เช่น ในห้องสมุดเพื่อบริการให้ผู้ต้องการใช้และศึกษาด้วยตนเอง - ใช้ในการศึกษาระบบเปิด โดยใช้วีดิทัศน์เป็นสื่อหลักในการศึกษาทางไกลร่วมกับสื่ออื่นๆ เช่น นำเสนอรายการโทรทัศน์ในชุดวิชาต่างๆ ของมหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช - ใช้ในระบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ ใช้การผสมผสานระหว่างสื่อทางไกลประเภทต่างๆ และการผลิตรายการโทรทัศน์ ถ่ายทอดผ่านดาวเทียมไทยคม ไปยังโรงเรียนต่างๆ ในสังกัด ซึ่งมีการแนะแนวการศึกษา อาชีพ วิชากฎหมาย รายวิชาเสริมความรู้ และรายการข่าวสารคดี เพลงและรายการภาพยนตร์ เป็นต้น
  2 การใช้วิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษานอกระบบโรงเรียน(Informal Education) เป็นการใช้รายการโทรทัศน์ให้ความรู้และอาชีพแก่ผู้ชมรายการที่อยู่ในที่ต่างๆ โดยไม่มีการกำหนดเป็นนักเรียนหรือชั้นเรียน การใช้วิทยุโทรทัศน์ในลักษณะนี้จะไม่มีหลักสูตรตายตัว และไม่มีใบรับรองคุณวุฒิเหมือนเช่นการศึกษาในระบบ เช่น รายการทางการศึกษาที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ถือเป็นการให้การศึกษานอกระบบ
  3 การศึกษาตามอัธยาศัย (Non Formal Education) เป็นการจัดการศึกษาเพื่อให้ข่าวสารข้อมูลความรู้และทักษะที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทั่วไปโดยที่จะไม่มีหลักสูตรชัดเจนเหมือนสองประเภทแรก แต่จะกำหนดเนื้อหาในการออกอากาศทางโทรทัศน์ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาปัจจุบัน และสามารถเน้นเนื้อหาเฉพาะกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เช่น กลุ่มอาชีพ ผู้ใช้แรงงานกลุ่มสตรี กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเด็กและเยาวชนและกลุ่มเกษตรกร เป็นต้น

ยกตัวอย่าง 
รายการโทรทัศน์ครู : http://www.youtube.com/watch?v=NMqeUq0XNX4


อ้างอิง
ที่มา : http://www.google.co.th/imgres?um=1&hl=th&sa=N&biw=1366&bih=624&tbm=isch&tbnid=0YoW87w-q0vRDM:&imgrefurl=http://info.muslimthaipost.com/main/index.php%3Fpage%3Dsub%26category%3D29%26id%3D7087&docid=JbFLyTwf5hy1eM&imgurl=http://image.konmun.com/images/59781P_081052_in_3.jpg&w=250&h=289&ei=MEUaUNu4LYKpiAei6oCwCQ&zoom=1

บทที่ 2 การประยุกต์ใช้สื่อโสตทัศน์เพื่อการศึกษาของ AV
                                  

ความหมายและประเภทของ AV
AV หรือ Audio Visual สื่อโสตทัศน์ เป็นสื่อที่สามารถรับรู้ได้โดยผ่านประสาทสัมผัสการได้ยิน และการมองเห็น หรือหูกับตานั่นเอง สื่อโสตทัศน์แบ่งได้ 3 ประเภทด้วยกันคือ สื่อประเภทเครื่องเสียง,  สื่อประเภทเครื่องฉาย และสื่อประเภทที่ไม่ใช้เครื่องฉาย
สามารถนำ AV มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้ดังนี้
1. การถ่ายภาพ การทำสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น ตำราเรียน รายงานวิชาต่างๆ เพื่อนำมาประกอบในการเรียนการสอน
2. การบันทึกภาพ หรือเสียงในการสอนของครูผู้สอนเพื่อนำไปใช้ในครั้งต่อไป เพราะสามารถเปิดดูได้ซ้ำไปซ้ำมา ย้อนกลับ เดินหน้า กี่รอบก็ได้ตามความต้องการของเรา
3. การออกแบบบทเรียนโดยใช้สื่อโสตทัศน์ เช่น การถ่ายภาพวิวัฒนาการการเจริญเติบโตของต้นไม้ด้วยกล้องดิจิตอล และนำมาเปิดให้ผู้เรียนดูโดยใช้เครื่องฉายภาพก็ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
4. การใช้อุปกรณ์สื่อโสตฯต่างๆ เช่น โทรทัศน์ แผนที่ ลูกโลกมาประกอบในการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่สะดวก รวดเร็วและเข้าใจเรียนรู้ได้ดีขึ้น


อ้างอิง
ที่มา : http://www.cybergogy.com/somsit/423231EdTEquipOpr/ProjectionMedia.htm
ที่มา : สุชุมาภรณ์ ขันธ์ศรี.สื่อประเภทเครื่องเสียง.[ ออนไลน์ ].เข้าถึงได้จาก : http://www.slideshare.net/WoraponMasee/ss-9326572. ( วันที่สืบค้นข้อมูล : 18 กรกฎาคม 2555 )
ที่มา : http://www.google.co.th/imgres?um=1&hl=th&sa=N&biw=1366&bih=624&tbm=isch&tbnid=20HZzoDwIBSjaM:&imgrefurl=http://55540162punchalee.blogspot.com/2012/06/10.html&docid=Gcq45lt8TLm36M&imgurl=http://www.velamall.com/classifieds/img/l_128047824089.jpg&w=420&h=383&ei=m0AaUPSLKsWViAfnyoGoDQ&zoom=1








บทที่ 1 มโนทัศน์เทคโนโลยีการศึกษาในเชิงศาสตร์
        มโนทัศน์เทคโนโลยีการศึกษาในเชิงศาสตร์ จึงเป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศน์ศึกษาให้กว้างขวาง ยิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัส ด้านการฟังและการดูเป็นหลัก จึงใช้คำว่าโสตทัศนอุปกรณ์ หรือโสตทัศนูปกรณ์เทคโนโลยีทางการศึกษามีความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งอาจพิจารณาจากความคิดรวบยอดของเทคโนโลยีได้เป็น 2 ประการ ดังนี้
 1. ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ ( Physical Science Concept) หมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ ในรูปของการออกแบบสิ่งประดิษฐ์เพื่อการศึกษา โดยเน้นวัตถุประสงค์ทางการศึกษา ที่สามารถวัดได้อย่างแน่นอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมากกว่ายึดเนื้อหาวิชา เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์โทรทัศน์ ฯลฯ มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ การใช้เครื่องมือเหล่านี้ มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงาน เน้นเรื่องวัสดุ อุปกรณ์ มากกว่าจะคำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้ โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลและการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชา
 2. ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์ ( Behavioral Science) หมายถึง การนำวิธีการทางจิตวิทยา สังคมวิทยา มานุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษา การสื่อความหมาย การบริหาร เครื่องยนต์กลไก การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อให้ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งจะเน้นเรื่องเทคนิคที่เป็นวิธีการ และกระบวนการเรียนการสอนมากกว่าวัสดุ และเครื่องมือ

  พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา 
           เทคโนโลยีได้ถูกนำมาใช้ทางการศึกษานับแต่สมัยก่อนคริสตกาล นักเทคโนโลยีทาง การศึกษาพวกแรก คือ กลุ่มโซฟิสต์ (The Elder Sophist) ที่ใช้วิธีการสอนแบบบรรยายให้แก่มวลชน แต่วิวัฒนาการในยุคแรกๆนั้น รูปแบบของเทคโนโลยีการศึกษาจะออกมาในการการเขียน เช่น การเขียนสลักลงบนไม้ ส่วนการใช้ชอล์คเขียนบนกระดานดำได้เริ่มในทศวรรษที่ 1800 สำหรับการใช้เทคโนโลยีทางสื่อโสตทัศน์ (Audio visual) สามารถนับย้อนไปได้ถึงต้นทศวรรษที่ 1900 ในขณะที่ โรงเรียนและพิพิธภัณฑ์หลายๆแห่ง เริ่มมีการจัดสภาพห้องเรียนและการใช้สื่อการสอนประเภท ต่างๆ เช่น ใช้สื่อภาพ ภาพวาด ภาพระบายสี สไลด์ ฟิล์ม วัตถุ และแบบจำลองต่างๆ เพื่อการบอกเล่าทางคำพูด (ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา . 2545 ) ในปี ค.ศ. 1913 ได้มีการ พัฒนาเครื่องฉายภาพยนตร์โดย Thomas A. Edison ต่อมาในช่วงทศวรรษที่ 1920-1930 เริ่มมีการผลิตเครื่องฉายภาพข้าม ศีรษะ เครื่องบันทึกเสียง วิทยุกระจายเสียง และในช่วงทศวรรษที่ 1950 ได้มีการคิดค้นวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่สามารถใช้เป็นสื่อเพื่อการศึกษาได้อย่างมี ประสิทธิภาพ จนกระทั่งมาสู่ปลายทศวรรษที่ 1960 ได้เข้าสู่ยุคของคอมพิวเตอร์ ซึ่งถือเป็น ปรากฏการณ์ครั้งใหญ่ในการเปลี่ยนแปลงการใช้สื่อการสอน จนกระทั่งมาสู่ของยุคอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน


อ้างอิง
ที่มา : http://www.kroobannok.com/1571
มโนทัศน์เกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา

ความหมายของคำว่ามโนทัศน์
         มโนทัศน์ (Concept)หมายถึง สิ่งที่สามารถแยกประเภทของสิ่งของ การกระทำ หรือความคิด ที่เกี่ยวกับจิตที่ถูกบันทึกไว้แล้วคือเรื่องราวเกี่ยวกับ ความรู้สึกและการรู้สึกสัมผัส ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้ต่างก็เป็นลักษณะของจิต ( Mind) ซึ่งความว่า Concept นี้ก็ได้เริ่มใช้มาตั้งแต่ช้านาน ราวศตวรรษที่ 17ในสมัยของ Plato ในราวๆ 2000 ปีกว่าได้ ในประเทศไทย ท่านศาสตรารย์หม่อมหลวงตุ้ย ชุมสาย ได้เสนอคำว่า สังกัปป บรรจุไว้คำในหนังสือจิตวิทยาในชีวิตประจำวันของท่าน และสอนลูกศิษย์ในชั้นเรียน ท่านอาจารย์เดโชว์ สวนานนท์ ได้เสนอคำ ความคิดรวบยอด บรรจุไว้ในหนังสือตำราจิตวิทยาของท่านซึ่งคุณครูที่สอบ วิชาครูในสมัยโน้นอ่านกันมาก ส่วนคำมโนทัศน์นั้น ผมพบจากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ทั้งสามคำนี้แปลมาจาก Concept ทั้งสองท่านนับเป็นบุคคลสำคัญของคำๆนี้

 ประเภทของมโนทัศน์
(๑) มโนทัศน์ธรรมดา (Affirmative Concepts) ได้แก่มโนทัศน์ที่มีลักษณะกำหนด ๑ ลักษณะ เช่น อะไรที่"ร้องเหมียวๆ" คือแมว
 (๒) มโนทัศน์ร่วมลักษณะ (Conjunctive Concepts) ได้แก่มโนทัศน์ที่ลักษณะกำหนดสองลักษณะขึ้นไปและเชื่อมด้วย "และ"(And) เช่น อะไรที่ "พูดได้" และ "คิดเหตุผลเป็น" คือคน
 (๓) มโนทัศน์แยกลักษณะ(Disjunctive Concepts) ได้แก่มโนทัศน์ที่มีลักษณะกำหนดเชื่อมด้วย "และ / หรือ" (and / or) หรือ "ทั้งสองอย่าง" (both) เช่น ช้างคือ "สัตว์" , หรือ ช้างคือ "สิ่งที่มีงวง" , หรือ ช้างคือ "สัตว์" และ "สิ่งที่มีงวง"
 (๔) มโนทัศน์มีเงื่อนไข(Conditional Concepts) เช่น "คนฉลาด คือ คนที่ต้องสอบได้คะแนนสูงสุด"
 (๕) มโนทัศน์ที่มีเงื่อนไขสองด้าน (Biconditional Concepts) มโนทัศน์นี้ซับซ้อนมาก นอกจากจะมีลักษณะกำหนดหลายลักษณะแล้ว ยังเป็นเงื่อนไขกันและกันด้วย

  ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา 
         เทคโนโลยีการศึกษา (อังกฤษ: Educational Technology) เป็นศาสตร์ที่ประยุกต์เอาวิชาการต่างๆ มาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิผล ซึ่งเกิดจากการออกแบบการสอนตามหลักการออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design) โดยคำนึงถึงคุณลักษณะของผู้เรียน ความเหมาะสมของสื่อที่สอดคล้องกับลักษณะเนื้อหาและความสนใจของผู้เรียน เทคโนโลยีการศึกษา เป็นคำที่มาจากคำสองคำ คือ เทคโนโลยี ที่มีความหมายว่า เป็นศาสตร์แห่งวิธีการ ซึ่งมิได้มีความหมายว่าเป็นศาสตร์แห่งเครื่องมือเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึง วัสดุและวิธีการด้วย เมื่อมาเชื่อมกับคำว่า การศึกษา เกิดเป็นคำใหม่ที่มีความหมายว่า การประยุกต์เครื่องมือ วัสดุและวิธีการไปส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ ตลอดจนการจัดสภาพแวดล้อมใหม่เพื่อการเรียนรู้ เทคโนโลยีการศึกษายังเป็นศาสตร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว โดยอาศัยหลักการพื้นฐาน จากหลายสาขาวิชา ทำให้เทคโนโลยีการศึกษามีลักษณะเป็นสหวิทยาการ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมต่างๆได้อย่างกว้างขวาง

ที่มา : ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว.มโนทัศน์ทางการศึกษา.[ ออนไลน์ ].เข้าถึงได้จาก : http://www.gotoknow.org/blogs/posts/7305.( วันที่สืบค้นข้อมูล  : 18 กรกฎาคม 2555 )