วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บทที่ 1 มโนทัศน์เทคโนโลยีการศึกษาในเชิงศาสตร์
        มโนทัศน์เทคโนโลยีการศึกษาในเชิงศาสตร์ จึงเป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศน์ศึกษาให้กว้างขวาง ยิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัส ด้านการฟังและการดูเป็นหลัก จึงใช้คำว่าโสตทัศนอุปกรณ์ หรือโสตทัศนูปกรณ์เทคโนโลยีทางการศึกษามีความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งอาจพิจารณาจากความคิดรวบยอดของเทคโนโลยีได้เป็น 2 ประการ ดังนี้
 1. ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ ( Physical Science Concept) หมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ ในรูปของการออกแบบสิ่งประดิษฐ์เพื่อการศึกษา โดยเน้นวัตถุประสงค์ทางการศึกษา ที่สามารถวัดได้อย่างแน่นอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมากกว่ายึดเนื้อหาวิชา เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์โทรทัศน์ ฯลฯ มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ การใช้เครื่องมือเหล่านี้ มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงาน เน้นเรื่องวัสดุ อุปกรณ์ มากกว่าจะคำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้ โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลและการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชา
 2. ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์ ( Behavioral Science) หมายถึง การนำวิธีการทางจิตวิทยา สังคมวิทยา มานุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษา การสื่อความหมาย การบริหาร เครื่องยนต์กลไก การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อให้ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งจะเน้นเรื่องเทคนิคที่เป็นวิธีการ และกระบวนการเรียนการสอนมากกว่าวัสดุ และเครื่องมือ

  พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา 
           เทคโนโลยีได้ถูกนำมาใช้ทางการศึกษานับแต่สมัยก่อนคริสตกาล นักเทคโนโลยีทาง การศึกษาพวกแรก คือ กลุ่มโซฟิสต์ (The Elder Sophist) ที่ใช้วิธีการสอนแบบบรรยายให้แก่มวลชน แต่วิวัฒนาการในยุคแรกๆนั้น รูปแบบของเทคโนโลยีการศึกษาจะออกมาในการการเขียน เช่น การเขียนสลักลงบนไม้ ส่วนการใช้ชอล์คเขียนบนกระดานดำได้เริ่มในทศวรรษที่ 1800 สำหรับการใช้เทคโนโลยีทางสื่อโสตทัศน์ (Audio visual) สามารถนับย้อนไปได้ถึงต้นทศวรรษที่ 1900 ในขณะที่ โรงเรียนและพิพิธภัณฑ์หลายๆแห่ง เริ่มมีการจัดสภาพห้องเรียนและการใช้สื่อการสอนประเภท ต่างๆ เช่น ใช้สื่อภาพ ภาพวาด ภาพระบายสี สไลด์ ฟิล์ม วัตถุ และแบบจำลองต่างๆ เพื่อการบอกเล่าทางคำพูด (ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา . 2545 ) ในปี ค.ศ. 1913 ได้มีการ พัฒนาเครื่องฉายภาพยนตร์โดย Thomas A. Edison ต่อมาในช่วงทศวรรษที่ 1920-1930 เริ่มมีการผลิตเครื่องฉายภาพข้าม ศีรษะ เครื่องบันทึกเสียง วิทยุกระจายเสียง และในช่วงทศวรรษที่ 1950 ได้มีการคิดค้นวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่สามารถใช้เป็นสื่อเพื่อการศึกษาได้อย่างมี ประสิทธิภาพ จนกระทั่งมาสู่ปลายทศวรรษที่ 1960 ได้เข้าสู่ยุคของคอมพิวเตอร์ ซึ่งถือเป็น ปรากฏการณ์ครั้งใหญ่ในการเปลี่ยนแปลงการใช้สื่อการสอน จนกระทั่งมาสู่ของยุคอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน


อ้างอิง
ที่มา : http://www.kroobannok.com/1571

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น