วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บทที่ 3 การประยุกต์ใช้สื่อโสตทัศน์เพื่อการศึกษาและการออกอากาศ TV

ความหมายวิทยุโทรทัศน์ ( TELEVISION )
      คำว่าโทรทัศน์ในภาษาอังกฤษ คือ television เป็นคำผสมจากภาษากรีก "Tele-" แปลว่า"ระยะไกล "-vision" มาจากภาษาละติน "visio" แปลว่า"การมองเห็น",มักเรียกย่อเป็น TV (ทีวี) หมายถึง การส่งและรับภาพและเสียงโดยเครื่องส่งและเครื่องรับอิเล็กทรอนิกส์ ออกอากาศด้วยกระแสคลื่นวิทยุที่ใช้พลังไฟฟ้าเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเครื่องส่งไปยังเครื่องรับที่อยู่ห่างไกล

ประเภทของวิทยุโทรทัศน์
1.วิทยุโทรทัศน์ประเภทสาธารณะรับได้โดยตรง(Free TV) แบ่งเป็น 2 ระบบคือ -
สถานีโทรทัศน์ย่านความถี่สูงมาก(VHF)
- ช่อง 3 อสมท.
 - ช่อง 5 กองทัพบก
 - ช่อง 7 กองทัพบก
 - ช่อง 9 อสมท.
- ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ - สถานีโทรทัศน์ย่านความถี่สูง สูงมาก(UHF)
- ITV Independent Television
  2.วิทยุโทรทัศน์ประเภทบอกรับเป็นสมาชิก (Pay TV) แบ่งเป็น 3 ระบบคือ
 - DTH (Direct to Home )
- UBC -สถานีวิทยุโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียม(ไกลกังวล)
- สถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ (ECT)
- ใช้สายนำสัญญาณ Cable TV UBC,Other -
การให้บริการโดยใช้คลื่นวิทยุ หรือคลื่นระบบ MMDS ได้แก่สถานีโทรทัศน์ ไทยโทรทัศน์ TTV ระบบ


บทบาทของวิทยุโทรทัศน์ทางการศึกษา
  1 การใช้วิทยุโทรทัศน์เพื่อการเรียนการสอนในระบบโรงเรียน
- ใช้วิทยุโทรทัศน์เป็นเครื่องมือทางการสอน โดยกำหนดแผนการสอนให้มีวิทยุโทรทัศน์เข้ามาเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน เช่น การบันทึกภาพเพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหาและกำหนดวิธีแก้ไข - ใช้เป็นอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ เช่น ใช้กล้องโทรทัศน์ถ่ายภาพจากกล้องจุลทรรศน์ เพื่อประกอบการอธิบาย ซักถาม - ใช้เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดสื่ออื่น เช่น บันทึกวีดิทัศน์จากภาพยนตร์ สไลด์ รูปภาพ หรือสื่อเสียงอื่นๆ เข้าด้วยกัน ทำให้สะดวกต่อการใช้งาน - รวบรวมเป็นสื่อไว้ในแหล่งความรู้ เช่น ในห้องสมุดเพื่อบริการให้ผู้ต้องการใช้และศึกษาด้วยตนเอง - ใช้ในการศึกษาระบบเปิด โดยใช้วีดิทัศน์เป็นสื่อหลักในการศึกษาทางไกลร่วมกับสื่ออื่นๆ เช่น นำเสนอรายการโทรทัศน์ในชุดวิชาต่างๆ ของมหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช - ใช้ในระบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ ใช้การผสมผสานระหว่างสื่อทางไกลประเภทต่างๆ และการผลิตรายการโทรทัศน์ ถ่ายทอดผ่านดาวเทียมไทยคม ไปยังโรงเรียนต่างๆ ในสังกัด ซึ่งมีการแนะแนวการศึกษา อาชีพ วิชากฎหมาย รายวิชาเสริมความรู้ และรายการข่าวสารคดี เพลงและรายการภาพยนตร์ เป็นต้น
  2 การใช้วิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษานอกระบบโรงเรียน(Informal Education) เป็นการใช้รายการโทรทัศน์ให้ความรู้และอาชีพแก่ผู้ชมรายการที่อยู่ในที่ต่างๆ โดยไม่มีการกำหนดเป็นนักเรียนหรือชั้นเรียน การใช้วิทยุโทรทัศน์ในลักษณะนี้จะไม่มีหลักสูตรตายตัว และไม่มีใบรับรองคุณวุฒิเหมือนเช่นการศึกษาในระบบ เช่น รายการทางการศึกษาที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ถือเป็นการให้การศึกษานอกระบบ
  3 การศึกษาตามอัธยาศัย (Non Formal Education) เป็นการจัดการศึกษาเพื่อให้ข่าวสารข้อมูลความรู้และทักษะที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทั่วไปโดยที่จะไม่มีหลักสูตรชัดเจนเหมือนสองประเภทแรก แต่จะกำหนดเนื้อหาในการออกอากาศทางโทรทัศน์ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาปัจจุบัน และสามารถเน้นเนื้อหาเฉพาะกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เช่น กลุ่มอาชีพ ผู้ใช้แรงงานกลุ่มสตรี กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเด็กและเยาวชนและกลุ่มเกษตรกร เป็นต้น

ยกตัวอย่าง 
รายการโทรทัศน์ครู : http://www.youtube.com/watch?v=NMqeUq0XNX4


อ้างอิง
ที่มา : http://www.google.co.th/imgres?um=1&hl=th&sa=N&biw=1366&bih=624&tbm=isch&tbnid=0YoW87w-q0vRDM:&imgrefurl=http://info.muslimthaipost.com/main/index.php%3Fpage%3Dsub%26category%3D29%26id%3D7087&docid=JbFLyTwf5hy1eM&imgurl=http://image.konmun.com/images/59781P_081052_in_3.jpg&w=250&h=289&ei=MEUaUNu4LYKpiAei6oCwCQ&zoom=1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น