วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

มโนทัศน์เกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา

ความหมายของคำว่ามโนทัศน์
         มโนทัศน์ (Concept)หมายถึง สิ่งที่สามารถแยกประเภทของสิ่งของ การกระทำ หรือความคิด ที่เกี่ยวกับจิตที่ถูกบันทึกไว้แล้วคือเรื่องราวเกี่ยวกับ ความรู้สึกและการรู้สึกสัมผัส ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้ต่างก็เป็นลักษณะของจิต ( Mind) ซึ่งความว่า Concept นี้ก็ได้เริ่มใช้มาตั้งแต่ช้านาน ราวศตวรรษที่ 17ในสมัยของ Plato ในราวๆ 2000 ปีกว่าได้ ในประเทศไทย ท่านศาสตรารย์หม่อมหลวงตุ้ย ชุมสาย ได้เสนอคำว่า สังกัปป บรรจุไว้คำในหนังสือจิตวิทยาในชีวิตประจำวันของท่าน และสอนลูกศิษย์ในชั้นเรียน ท่านอาจารย์เดโชว์ สวนานนท์ ได้เสนอคำ ความคิดรวบยอด บรรจุไว้ในหนังสือตำราจิตวิทยาของท่านซึ่งคุณครูที่สอบ วิชาครูในสมัยโน้นอ่านกันมาก ส่วนคำมโนทัศน์นั้น ผมพบจากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ทั้งสามคำนี้แปลมาจาก Concept ทั้งสองท่านนับเป็นบุคคลสำคัญของคำๆนี้

 ประเภทของมโนทัศน์
(๑) มโนทัศน์ธรรมดา (Affirmative Concepts) ได้แก่มโนทัศน์ที่มีลักษณะกำหนด ๑ ลักษณะ เช่น อะไรที่"ร้องเหมียวๆ" คือแมว
 (๒) มโนทัศน์ร่วมลักษณะ (Conjunctive Concepts) ได้แก่มโนทัศน์ที่ลักษณะกำหนดสองลักษณะขึ้นไปและเชื่อมด้วย "และ"(And) เช่น อะไรที่ "พูดได้" และ "คิดเหตุผลเป็น" คือคน
 (๓) มโนทัศน์แยกลักษณะ(Disjunctive Concepts) ได้แก่มโนทัศน์ที่มีลักษณะกำหนดเชื่อมด้วย "และ / หรือ" (and / or) หรือ "ทั้งสองอย่าง" (both) เช่น ช้างคือ "สัตว์" , หรือ ช้างคือ "สิ่งที่มีงวง" , หรือ ช้างคือ "สัตว์" และ "สิ่งที่มีงวง"
 (๔) มโนทัศน์มีเงื่อนไข(Conditional Concepts) เช่น "คนฉลาด คือ คนที่ต้องสอบได้คะแนนสูงสุด"
 (๕) มโนทัศน์ที่มีเงื่อนไขสองด้าน (Biconditional Concepts) มโนทัศน์นี้ซับซ้อนมาก นอกจากจะมีลักษณะกำหนดหลายลักษณะแล้ว ยังเป็นเงื่อนไขกันและกันด้วย

  ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา 
         เทคโนโลยีการศึกษา (อังกฤษ: Educational Technology) เป็นศาสตร์ที่ประยุกต์เอาวิชาการต่างๆ มาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิผล ซึ่งเกิดจากการออกแบบการสอนตามหลักการออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design) โดยคำนึงถึงคุณลักษณะของผู้เรียน ความเหมาะสมของสื่อที่สอดคล้องกับลักษณะเนื้อหาและความสนใจของผู้เรียน เทคโนโลยีการศึกษา เป็นคำที่มาจากคำสองคำ คือ เทคโนโลยี ที่มีความหมายว่า เป็นศาสตร์แห่งวิธีการ ซึ่งมิได้มีความหมายว่าเป็นศาสตร์แห่งเครื่องมือเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึง วัสดุและวิธีการด้วย เมื่อมาเชื่อมกับคำว่า การศึกษา เกิดเป็นคำใหม่ที่มีความหมายว่า การประยุกต์เครื่องมือ วัสดุและวิธีการไปส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ ตลอดจนการจัดสภาพแวดล้อมใหม่เพื่อการเรียนรู้ เทคโนโลยีการศึกษายังเป็นศาสตร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว โดยอาศัยหลักการพื้นฐาน จากหลายสาขาวิชา ทำให้เทคโนโลยีการศึกษามีลักษณะเป็นสหวิทยาการ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมต่างๆได้อย่างกว้างขวาง

ที่มา : ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว.มโนทัศน์ทางการศึกษา.[ ออนไลน์ ].เข้าถึงได้จาก : http://www.gotoknow.org/blogs/posts/7305.( วันที่สืบค้นข้อมูล  : 18 กรกฎาคม 2555 )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น